นางพญา กรุวัดสุดสวาท (สุดสวาสดิ์) พิษณุโลก เนื้อดิน

รูปพระเครื่อง
รูปพระเครื่อง

รายละเอียด

นางพญา กรุวัดสุดสวาท (สุดสวาสดิ์) พิษณุโลก เนื้อดิน
 ขายแล้ว
..:: อธิบายเพิ่มเติม ::..

.. พระพิมพ์เนื้อดินเผาขนาดเล็ก รูปสามเหลี่ยม ที่เริ่มรู้จักและเรียกกันว่า พระนางพญา เนื่องจากพบในลานดินวัดนางพญา พิษณุโลก และมีที่พบอีกมากมายหลายวัดใกล้ๆวัดสะตือ วัดราชคฤห์ และ วัดสุดสวาท (สุดสวาสดิ์) ก็เรียกคำนำหน้าว่านางพญาทั้งสิ้น
.. นางพญาวัดสุดสวาท ศิลปะร่วมสมัยกรุงศรีอยุธยา ฝีมือช่างชาวเมืองพิษณุโลก .. วัดสุดสวาท (บ้างเขียนเป็นสุดสวาสดิ์) เป็นวัดโบราณ อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน ห่างตัวเมืองพิษณุโลกไปราว 2 กิโลเมตร สภาพเหลือกองอิฐเก่าสองกอง กองแรกเข้าใจว่าเป็นโบสถ์หรือวิหาร กองที่สองเป็นพระเจดีย์เดิมทีมีป่าคลุมรกร้าง
.. ราวปี ๒๔๔๔ เริ่มมีข่าวคนร้ายแอบไปขุดเอาพระนางพญาขึ้นมาเรื่อยๆ ทางวัดจึงมีการเปิดกรุอย่างเป็นทางการ ได้พระขึ้นมาราว ๔๐๐ องค์ มีหลายพิมพ์ หลายสี สีหลักเป็นเทาอมเขียวเหมือนสีลูกสวาท .. เหตุเพราะชื่อสุดสวาท นักเลงพระรุ่นโบราณนิยมกันนัก มักกล่าวกันว่าหายากกว่านางพญาวัดนางพญา เชื่อกันว่ามีเมตตามหานิยมสูงกว่าพระวัดอื่นๆ
.. และเนื่องด้วยพระกรุนี้มีการเปิดกรุและฝังกลบเข้าทดแทนอยู่ด้วยทุกครั้ง จึงทำให้เราพบพระกรุวัดสุดสวาสดิ์มีพุทธลักษณะและเนื้อพระที่แตกต่างกัน จนสามารถจำแนกแจกแจงได้ถึงสามยุคสมัยด้วยกันคือ
-ยุคแรกหรือกรุเก่า (ลักลอบขุดและแตกกรุในช่วงปี ๒๔๐๐-๒๔๖๕)
-ยุคกลาง (แตกกรุในช่วงปี ๒๕๓๒-๒๕๓๖)
-ยุคใหม่ (แตกกรุในช่วงปี ๒๕๕๓-๒๕๕๔)
.. ซึ่งในแต่ละยุคก็มีโซนเนื้อหาและคราบกรุแตกต่างกันเล็กน้อย แต่เอกลักษณ์บางอย่างคล้ายคลึงกันมองดูก็จะรู้ว่านี่คือนางพญา กรุวัดสุดสวาสดิ์

.. เนื้อหาเป็นดินผสมผงว่าน เกสรดอกไม้ ถ้าพระยังผิวเดิมๆจะเป็นเนื้อดินละเอียดและหนึกนุ่ม
.. มีสีพิกุล (เหลือง) แดง น้ำตาลเข้ม สีเทา สีเขียว สีดำ บางองค์ออกสีขาว ถ้าเป็นองค์ที่มีสีเทาอมเขียว(เหมือนสีลูกสวาด) จะเป็นที่นิยมสูงกว่า เนื่องจากชื่อคล้องจองกัน
.. พุทธศิลป์เป็นปางมารวิชัย พระเศียรคล้ายใส่ชฎา พระกรรณสวยงามสมดุล .. เฉพาะพระกรรณที่ไม่เหมือนกันจึงแยกพิมพ์ได้ชัดเจน
.. แม่พิมพ์นางพญาสุดสวาทพอแยกได้ถึง ๑๒ พิมพ์ ได้แก่ พิมพ์สังฆาฏิใหญ่ พิมพ์สังฆาฏิเล็ก พิมพ์อกนูนใหญ่ พิมพ์อกนูนเล็ก พิมพ์หูแหลมใหญ่ พิมพ์หูแหลมเล็ก พิมพ์หูถ่าง พิมพ์ตุ๊กตา พิมพ์หูประบ่า พิมพ์หูช้าง พิมพ์เทวดา พิมพ์หูกระต่ายคอตรง และหูกระต่ายคอเอียง

.. องค์นี้พิมพ์หูกระต่าย สภาพผิวเดิมๆ ผ่านการสัมผัสมาน้อย สันนิษฐานว่าแตกกรุขึ้นมายุคกลางค่อนใหม่ (คล้ายพระกรุใหม่หลายๆกรุ อาทิ พระคงกรุใหม่) เนื้อหยาบน้อย เห็นเม็ดแร่กรวดบ้างเล็กน้อย คราบนวล รารักบางๆและดินกรุยังมีให้เห็น ธรรมชาติพระกรุเนื้อดินดูง่ายๆครับ พระหมุนเวียนในสนามน้อย แต่คุณค่าไม่ด้อยไปกว่านางพญากรุใดๆเลยครับ..

2021-10-15 10:49:17
3848 ครั้ง
บ้านต้นไม้พระเครื่อง
081-1416959
bank-baantonmai