พระผงพิมพ์พระุพุทธชินราช วัดมฤคทายวัน เนื้อผงน้ำมัน พิมพ์กลาง ปี2466(ปู่นาควัดหัวหินปลุกเสก)+บัตรฯ

รูปพระเครื่อง
รูปพระเครื่อง
รูปพระเครื่อง

รายละเอียด

พระผงพิมพ์พระุพุทธชินราช วัดมฤคทายวัน เนื้อผงน้ำมัน พิมพ์กลาง ปี2466(ปู่นาควัดหัวหินปลุกเสก)+บัตรฯ
 ขายแล้ว
..:: อธิบายเพิ่มเติม ::..

วัดมฤคทายวัน มีชื่อมาจากป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ซึ่งตามพุทธประวัติเป็นที่พำนักของพระปัญจวัคคีย์ หลังจากเสื่อมศรัทธาในสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา และเป็นที่ซึ่งพระองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา "พระธัมมจักกัปปวัตนสูตร" แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เมื่อพระองค์ทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว จนพระโกณฑัญญะหนึ่งในพระปัญจ วัคคีย์ขออุปสมบท เป็นพระภิกษุรูปแรกของพระพุทธองค์ และครั้งแรกในพุทธกาล

วัดมฤคทายวัน ตั้งอยู่ติดกับวังไกลกังวล ซึ่งสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เพื่อเป็นที่ประทับในฤดูร้อน และเมื่อพระองค์เสด็จแปรพระราชฐานมายังวังไกลกังวล ก็มักทรงสดับพระธรรมเทศนา และสนทนาธรรมกับพระภิกษุผู้มีศีลาจารวัตรงดงาม รวมถึง "หลวงปู่นาค ปุญญนาโค" ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดมฤคทายวันในสมัยนั้น ซึ่งภายหลังได้ย้ายมาครองวัดหัวหิน

นอกจากท่านจะมีศีลาจารวัตรงดงามแล้ว ท่านยังเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เชี่ยวชาญในวิทยาอาคมเข้มขลัง เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวจังหวัดเพชรบุรีและใกล้เคียง ราวปีพ.ศ.2462 รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้ "หลวงปู่นาค" เป็นเจ้าพิธีในการสร้างพระพิมพ์สมเด็จมฤคทายวันขึ้น เป็นพระเนื้อผงทรงสี่เหลี่ยม คล้ายพระสมเด็จวัดระฆังฯ ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เนื้อหามวลสารประกอบด้วยปูนเปลือกหอยเป็นมวลสารหลัก ที่สำคัญคือ "ผงตรีนิสิงเห" อันเป็นผงวิเศษหลักในการสร้างพระสมเด็จ มาตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) จนถึงท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มีอานุภาพนานัปการ ทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี

ผงตรีนิสิงเหนำมาผสมรวมกับมวลสารมงคลอื่นๆ แล้วใช้น้ำมันตั้งอิ้วกับน้ำมันลินสีดเป็นตัวประสาน เนื้อมวลสารที่เป็นปูนเปลือกหอยก็จะอมน้ำมันทำให้เนื้อขององค์พระแลดูชุ่มและนุ่ม ส่วนผงตรีนิสิงเหนั้นไม่อมน้ำมัน จึงปรากฏเป็นผงสีเหลืองนวลแทรกอยู่ในเนื้อขององค์พระ ลักษณะเหมือนถั่วตัดสวยงามมาก

โบราณาจารย์บางท่านมักเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "พระผงน้ำมัน" ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นต้นตระกูลของพระผงน้ำมันทีเดียว

พระผงน้ำมันวัดมฤคทายวัน เป็นเนื้อผงปูนปั้น ผสมน้ำมันทั้งหมด มีหลากสีคือ ขาว, ดำ, แดง, เหลือง, ส้ม โดยสีขาวที่เรียกกันทั่วไปว่าเนื้อกระดูก เป็นเนื้อนิยมสูงสุด เนื่องจากมีความเชื่อว่ายากต่อการปลอมแปลง แต่ปัจจุบันเล่นรุ่นหลัง สามารถแยกเก๊-แท้ได้แล้ว โดยอาศัยเอกลักษณ์จากพิมพ์ทรงการตัดขอบและเนื้อหาที่ละเอียด หนึกนุ่ม ปกคลุมด้วยน้ำมันที่แห้งผาก ยากต่อการปลอมแปลง เนื้อสีอื่นจึงได้รับความนิยมตามมา โดยลำดับ

พระมฤคทายวัน มีหลายพิมพ์เท่าที่วงการยอมรับไม่ต่ำกว่า 20 พิมพ์ หากนำมาเสนอทั้งหมด หน้ากระดาษคงไม่เอื้ออำนวย โดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ใหญ่ๆ ดังนี้

1.พิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์ มี 2 ขนาด คือ ใหญ่, เล็ก พิมพ์ใหญ่แยกเป็นพิมพ์ลึก, ตื้น
2.พิมพ์สมเด็จ 3 ชั้น แบ่งเป็น 3 พิมพ์คือ ใหญ่, กลาง, เล็ก
3.พิมพ์สมเด็จ 7 ชั้น แบ่งเป็น 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่พิเศษอกร่อง, พิมพ์อกร่อง, อกตัน
4.พิมพ์นางกวัก เป็นพิมพ์ที่มีมากที่สุดแบ่งได้ 4 ขนาดใหญ่พิเศษ (จัมโบ้) ใหญ่, กลาง, เล็ก, จิ๋ว
5.พิมพ์ชินราช แบ่งเป็น 3 พิมพ์คือใหญ่, กลาง, เล็ก
6.พิมพ์ 3 เหลี่ยม แบ่งเป็น 3 พิมพ์ คือ ใหญ่, กลาง, เล็ก
7.พิมพ์พระศรีอาริย์ มีพิมพ์เดียว
8.พิมพ์ป่าเลไลยก์ มีพิมพ์เดียว

ทุกพิมพ์มีเอกลักษณ์เฉพาะคือ จะเป็น กรอบกระจก เช่นเดียวกับเกษไชโย และมีการตัดของสำเร็จในพิมพ์ ไม่มีการตัดนอกพิมพ์ เนื่องจากการสร้างแบบแม่พิมพ์ที่มาตรฐาน ซึ่งเชื่อว่าเป็นฝีมือช่างหลวง เป็นการสร้างแบบแม่พิมพ์ของช่างผู้มีความรู้ในเชิงช่างชั้นครู อย่างแท้จริง เลอเลิศทั้งอักขระเลขยันต์ประทับด้านหลัง นอกจากนั้นยังมีแบบหลังเรียบอีกด้วย

สมเด็จวัดมฤคทายวัน พิมพ์ปรกโพธิ์ นั้นได้รับความนิยมและมีราคามากที่สุด พุทธลักษณะแม่พิมพ์ ด้านหน้าองค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิอยู่เหนืออาสนะ ด้านหลังเป็นโพธิบัลลังก์ ภายในซุ้มเรือนแก้ว ส่วนแม่พิมพ์ด้านหลัง เป็นยันต์ตรีนิสิงเห

พิธีพุทธาภิเษกจัดอย่างยิ่งใหญ่สมบูรณ์ ทั้งพิธีหลวงและพิธีพราหมณ์ รวมถึงพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นร่วมปลุกเสก และหลวงปู่นาคปลุกเสกด้วยตนเองอีกรอบหนึ่ง จัดเป็นสิ่งมงคลเมืองเพชร-พระสมเด็จมากพุทธคุณ

2017-05-12 01:14:27
3507 ครั้ง
ศิลป์ส่องพระ by chettsongpra
081-6865899
chettsongpra